วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


แนวคิด 
        กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความ    เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอลเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร


หลักการ
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
        2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
        3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


จุดหมาย
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
        4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ


ระดับการศึกษา
        ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
        - ระดับประถมศึกษา
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
        โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน






สาระการเรียนรู้
        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
        มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
        มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
        มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
        มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง
4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
        มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
        มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
        มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
        มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
        มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ


โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

 


           หมายเหตุ วิชาเลือกและวิชาบังคับในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3หน่วยกิต  จากโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สำหรับรายวิชาเลือกนักศึกษาสามารถเลือกตามรายวิชาที่สำนักงาน กศน. จัดทำขึ้น หรือพัฒนาขึ้นได้ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
          การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
          1.ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
          2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17หน่วยกิต
          3.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23หน่วยกิต




วิธีการจัดการเรียนรู้
         วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ “วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น         

         -   การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม         
         -   การเรียนรู้ด้วยตนเอง        
         -   การเรียนรู้แบบทางไกล         
         -   การเรียนรู้แบบชั้นเรียน        
         -   การเรียนรู้แบบอื่นๆ        
        ซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย

1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
         เป็นการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนมาพบกันโดยมีครูเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้มีการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาข้อสรุปร่วมกันทุกสัปดาห์ ครูจะต้องจัดให้มีการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก ใช้เวลาในการพบกลุ่มอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง

ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม        
    จัดพบกลุ่มในรายวิชาที่ยากปานกลาง         
    น้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับครู        
    ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้างานเดี่ยว งานกลุ่ม ทำโครงงาน         
    ครูจัดกระบวนการกลุ่มที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสอดแทรกกระบวนการคิดเป็นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ในแต่ละรายวิชาที่เชื่อมโยงสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและอาจสอนเพิ่มเติมในบางเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ         
    มีการสอบย่อย (QUIZ)         
    พบกลุ่มสัปดาห์ละ 3 ชม. เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าสามารถจัดเวลาพบกลุ่มได้มากขึ้นจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง
         
     การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม ควรดำเนินการ ดังนี้         
     1) การนำเสนอผลจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มโดยผู้เรียน ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายจากการพบกลุ่มสัปดาห์ที่แล้ว ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และสรุปองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู         
      2) การจัดการเรียนการสอนตามสาระการเรียนรู้ที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้วระหว่างครูและผู้เรียน โดยครูเป็นผู้จัดกระบวนเรียนรู้ เพิ่มเติมความรู้หรือเนื้อหาสาระที่จำเป็น ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจและต้องการจะเรียนรู้ โดยอาจสอนเพิ่มเติมในบางเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ หรือจัดสอนเสริมนอกเหนือจากเวลาพบกลุ่ม (โดยเฉพาะในเนื้อหายากที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์)         
     3) การนำเสนอโครงงาน โดยผู้เรียนนำเสนอความคิด และความก้าวหน้าในการทำโครงงานต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถามให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการต่อยอดทางความคิดและนำไปสู่การพัฒนาโครงงานในสัปดาห์ต่อไป การนำเสนอโครงงานเช่นนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่พบกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน         
     4) การสอบย่อย (QUIZ) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา โดยครูและสถานศึกษาเป็นผู้จัดทำข้อทดสอบย่อย ในลักษณะ ถาม-ตอบ (QUIZ) ให้ผู้เรียนตอบคำถามแบบเขียนสั้น ๆ ในลักษณะการสรุปความคิดรวบยอด ที่เป็นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชานั้น ของตัวผู้เรียนเอง 
     5) การฝึกกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น” ให้ผู้เรียนฝึกคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ เช่น สถานการณ์จริง ข่าว นสพ.บทความ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาที่กำลังเรียนรู้ ครูทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น เสริมแรง ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้ผู้เรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันตลอดช่วงเวลาการพบกลุ่ม โดยครูควรตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้เรียนได้คิด ร่วมอภิปรายเพื่อหาคำตอบจากประเด็นปัญหา และพยายามเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้จากรายวิชานั้นเข้าสู่วิถีชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นประโยชน์จากการมาพบกลุ่ม          
     6) การฝึกให้ผู้เรียนได้แสดงออกเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การนำเสนองานประกอบการใช้สื่อ การฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง การฟังและการจับประเด็นสำคัญ การพูด/การเขียนเพื่อสรุปใจความสำคัญ ฯลฯ         
    7) การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มการนัดหมายกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ โดยเน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่จะมานำเสนอสัปดาห์ต่อไป และกำหนดภารกิจสำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ ด้วย         
   8) การติดตามและช่วยเหลือ อาจใช้กระบวนการติดตามช่วยเหลือโดยเพื่อน กลุ่มเพื่อนจัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือใช้ระบบหัวหน้ากลุ่มผู้เรียน
   
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอ
         ป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้ของตนเองให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน โดยระบุว่ากระบวนการเรียนรู้แต่ละครั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร เรียนรู้ด้วยวิธีการใด มีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบอย่างไร และมีครูเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการศึกษาหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
        ลักษณะของผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

         1. มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ได้เกิดจากการบังคับ         

         2. ใช้ตนเองเป็นแหล่งข้อมูล นั่นคือผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนจะเรียนคืออะไร รู้ว่าทักษะและข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง สามารถกำหนดเป้าหมาย วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้ถึงความสามารถของตนเอง ตัดสินใจได้ มีการรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้เรียนที่ดี         
         3. รู้ “วิธีการที่จะเรียน” นั่นคือ ผู้เรียนควรทราบขั้นตอนในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าจะไปสู่จุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร         
         4. มีบุคลิกภาพเชิงบวก มีแรงจูงใจ และการเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อนหรือบุคคลอื่น         
         5. มีระบบการเรียน รู้จักประยุกต์การเรียนและสนุกสนานกับกระบวนการเรียน         
         6. มีการเรียนจากข้อผิดพลาดและความสำเร็จ มีการประเมินตนเองและเข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง         
         7. มีความพยายามในการหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อหาคำตอบ รู้จักประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล และหาโอกาสในการพัฒนา ค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา         
         8. มีการชี้แนะ การอภิปรายในห้องเรียน การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวและการแสดงความเห็นที่แตกต่างไปจากผู้สอน         
         9. มีการรวบรวมข้อมูลจากการได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคลและมีวิธีการนำข้อมูลที่ได้
ไปใช้


         ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
            ผู้เรียนมีความสมัครใจ มีความพร้อม ศึกษาวิธีการเรียนให้เข้าใจขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบ         

            ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน         
            ผู้เรียนกำหนดสื่อที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เอกสารแบบเรียน ชุดการสอน ผู้รู้ โทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ซีดี แหล่งเรียนรู้ เพื่อนเรียนรู้ ฯลฯ         
            จัดทำสัญญาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างครูกับผู้เรียน         
            พบครู ให้คำปรึกษา แนะนำในการเรียน ประมาณ 2-4 ครั้ง/ภาคเรียน         
            สถานศึกษาและครูมีบทบาทในการจัดเตรียม อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือแนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
         
         การเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรดำเนินการ ดังนี้
         1) การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการในการเรียนรู้ โดยผู้เรียนควรคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน         

         2) การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยผู้เรียนศึกษาจุดมุ่งหมายของรายวิชาแล้วเขียนจุดมุ่งหมายในการเรียน จุดมุ่งหมายควรเน้นถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนคาดหวังว่าจะเกิดขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายที่สามารถวัดได้ และจุดมุ่งหมายของผู้เรียนในแต่ละระดับควรมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด         
        3) การวางแผนการเรียน โดยให้ผู้เรียนกำหนดแนวทางการเรียนของตนเองขึ้นมาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา กำหนดเวลาการเรียน โดยกำหนดปริมาณเวลา(จำนวนชั่วโมง/จำนวนครั้ง) ที่ต้องการพบครูเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำหรือให้ครูสอน กำหนดเวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้เรียนคนอื่น กำหนดเวลาที่ต้องการเรียนด้วยตนเอง พร้อมทั้งกำหนดว่ากิจกรรมการเรียนจะสิ้นสุดเมื่อใด
        4) การเลือกรูปแบบการเรียน/กิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง/แหล่งวิทยากร/สื่อที่จะใช้ในการเรียนด้วยตนเอง เช่น อ่านหนังสือประกอบ ดูวีซีดี ศึกษาจากสื่อคอมพิวเตอร์ ศึกษาจากผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด วัด สถานีอนามัย         
        5) การกำหนดบทบาทของผู้ช่วยเหลือในการเรียน เนื่องจากบางครั้งผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น เพื่อนร่วมเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน         
        6) การกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียน ควรเป็นการประเมินผลร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน โดยครูและผู้เรียนร่วมกันตั้งเกณฑ์การประเมินผลร่วมกัน เลือกประเภทของการทดสอบ ลักษณะของการ Feedback ที่จะใช้
       
         การจัดทำสัญญาการเรียนรู้
         ในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ผู้เรียนต้องมีการจัดทำข้อตกลงการเรียน หรือ สัญญาการเรียน ของตนเองให้ไว้กับครู เพื่อที่ครูจะได้ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนแต่ละคน
สัญญาการเรียน (Learning Contact) คือ ข้อตกลงที่ผู้เรียนได้ทำไว้กับครู ว่าเขาต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ในสัญญาการเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้เขียนเองโดยระบุว่า ต้องการเรียนเรื่องอะไร จะวัดว่าได้บรรลุตามความมุ่งหมายแล้วหรือไม่ อย่างไร มีหลักฐานการเรียนรู้อะไรบ้างที่บ่งบอกถึงผลการเรียนของผู้เรียนว่าผลการเรียนเป็นอย่างไร เมื่อเขียนเสร็จแล้วสำเนาส่งให้ครูเก็บไว้ 1 ชุด เพื่อติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน

แบบฟอร์มหรือตารางของการเขียนสัญญาการเรียน อาจประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้         
        1) จุดมุ่งหมาย เป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนต้องการบรรลุผลสำเร็จในเรื่องอะไร อย่างไร         
        2) แหล่งวิทยาการ/วิธีการเป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างไรจากแหล่งความรู้ใด         
        3) หลักฐาน เป็นส่วนที่มีสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันเป็นรูปธรรม ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้แล้ว โดยเก็บรวบรวมเป็นแฟ้มสะสมงาน         
        4) การประเมินผล เป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ในระดับใด
    
         3. การเรียนรู้แบบทางไกล
         เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ โดยผู้เรียนและครูจะสื่อสารกันทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์เป็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ e-learning




    
ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบทางไกล
         1. ผู้เรียนต้องมีเครื่องมือที่สามารถสื่อสาร และใช้อุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ฯลฯ         

          2. มีเวลาสื่อสารทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ กับครูตามเวลาที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน เช่น Chat room, E-mail, Web board, Blog, facebook ฯลฯ         
          3. สถานศึกษาและครูมีบทบาทในการจัดเตรียมสื่อทางไกล หรือ อำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้แบบทางไกลได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
         การเรียนรู้แบบทางไกล ควรดำเนินการ ดังนี้
            การศึกษาแนวทางการเรียนรู้แบบทางไกลจากสื่อต่าง ๆ         

            การเรียนรู้จากสื่อทางไกลตามที่สถานศึกษากำหนด         
            การประเมินความรู้ก่อนเรียนของตนเอง         
            การศึกษาเนื้อหาสาระจากสื่อต่าง ๆ และส่งงานตามที่กำหนด         
            การสื่อสารกับครูตามเวลาที่กำหนด เพื่อซักถาม นัดหมาย ขอคำปรึกษา ฯลฯ         
            การประเมินความรู้หลังเรียนของตนเอง
    
          4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
          เป็นการเรียนรู้ในลักษณะแบบห้องเรียน ที่สถานศึกษากำหนดรายวิชา เวลาเรียน และสถานที่ที่ชัดเจน ซึ่งการจัดการเรียนรู้นี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีเวลาเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ

        
ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบชั้นเรียน
         1. สถานศึกษากำหนดสถานที่เรียน ตารางเรียนที่เหมาะสม         



         2. มีการประชาสัมพันธ์สถานที่ วัน เวลา ครูผู้สอน ให้ผู้เรียนทราบทั่วกัน         
         3. สถานศึกษาจัดหาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนเช่น เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ โสตทัศนูปกรณ์ ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบชั้นเรียน         
         4. ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าชั้นเรียนตามที่กำหนดในตารางเรียน

        
การจัดกระบวนการเรียนรู้ 
         1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีครู/ผู้รู้/ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา ในการถ่ายทอดเนื้อหาของครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม แสดงความคิดเห็นได้ โดยเพิ่มการเขียนถาม/ตอบ หลังการบรรยาย รวมทั้งมีการจัดโอกาสให้ฝึกในห้องปฏิบัติการ และจัดเวลาการให้คำปรึกษา 

         2. การจัดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครู และผู้เรียนกับผู้เรียน โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบพร้อมกับใช้กิจกรรมลักษณะที่เน้นการสื่อสาร เช่น กิจกรรมคู่ กิจกรรมกลุ่ม และการจัดที่นั่งในชั้นเรียนต้องเหมาะสม เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม         
         3. การจัดให้มีการปรับบทบาทผู้เรียน ใช้การแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยที่แต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอนครูจะสอดแทรกกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนได้รับข้อมูล/ข้อเท็จจริง กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการได้ลงมือปฏิบัติ/สังเกต และกิจกรรมการสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู         
         4. การติดตามและช่วยเหลือผู้เรียน โดยอาจใช้กระบวนการติดตามช่วยเหลือโดยเพื่อน/กลุ่มเพื่อน จัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างครูกับผู้เรียน ใช้ผู้ช่วยสอน ใช้ระบบหัวหน้ากลุ่มผู้เรียน ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ใช้การเรียนแบบทีม ใช้ e-mail, discussion boards และ internet เป็นต้น  การเรียนรู้แบบต่าง ๆ  ดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนด โดยในแต่ละรายวิชาจะเลือกการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาในรายวิชานั้น ๆ โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงานของผู้เรียน รวมทั้งขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย และสถานศึกษาสามารถจัดให้มีการสอนเสริมได้ในทุกรูปแบบการเรียนรู้ เพิ่มเติมเต็มความรู้ให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้




หลักฐานการสมัคร

    ผู้สมัครต้องเตรียมหลักฐานการสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้
      1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา
      2. รูปถ่าย 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ และไม่สวมหมวก สวมเสื้อสีขาวมีปก หรือชุดสุภาพ
         (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และไม่ใช้รูปถ่ายประเภทโพลาลอยด์ เพื่อใช้ติดใบสมัคร 1 รูป ติดบัตรประจำตัว 1 รูป)
      3. สำเนาทะเบียนบ้านตนเองที่มีชื่อบิดามารดา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      4. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมฉบับจริงไปแสดง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า ฯลฯ
การปฏิบัติตนของนักศึกษา

    ผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา
      1. ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
      2. ต้องแต่งกายตามระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
      3. ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
      4. ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างกันในหมู่คณะ
      5. ต้องไม่ทำอันตรายหรือทำให้เสียหายชำรุด หรือบกพร่องซึ่งทรัพย์สินของสถานศึกษาและผู้อื่น
      6. ต้องไม่เล่นการพนันหรือมีอุปกรณ์การพนันไว้ในครอบครอง และไม่นำพามาในสถานศึกษา
      7. ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และสิ่งเสพติดในห้องเรียนโดยเฉพาะในสถานที่พบกลุ่ม
      8. ต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ
      9. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่
    10. ไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายต่อผู้อื่น


การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

    นักศึกษาจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเมื่อ
      1. สำเร็จการศึกษา
      2. ลาออก
      3. ตาย
      4. ออกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา
      5. ไม่ลงทะเบียนเพื่อรักษาสภาพเป็นนักศึกษาเป็นเวลา 6 ภาคเรียนติดต่อกัน
      6. ขาดคุณสมบัติการเป็นนักศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย





เด็กไทยรักการอ่าน


12 วิธี ในการฝึกนิสัยให้รักการอ่าน

12 วิธี ในการฝึกนิสัยให้รักการอ่าน หนังสือ book
12 วิธี ในการฝึกนิสัยให้รักการอ่าน
จัดระเบียบเวลา
1. วางแผนเวลา เราควรวางแผนไว้ว่าจะอ่านหนังสืออย่างน้อยครั้งละ 5-10 นาที ทำให้เป็นนิสัย
หรือ จะอ่านหนังสือ  ระหว่าง พักทานอาหาร ไม่ว่าจะเช้า กลางวัน หรือเย็น รวมทั้งก่อนนอน เท่ากับ
คุณมีเวลา ประมาณ 20 - 40 นาทีใน การอ่านหนังสือ
พกหนังสือติดตัว
2. พกหนังสือไว้ติดตัวตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน ก่อนออกจากบ้าน ไปออฟฟิศ  ไปเรียน
นัดเจอเพื่อนซี้  ทำธุระ  ไปหาหมอฟัน ฯลฯ เวลาว่างหรือนั่งรอ ก็หยิบหนังสือออกมาอ่านได้เสมอ
ทำรายการหนังสือ
3. จัดทำลิสต์รายการหนังสือ เก็บรายการหนังสือดีๆ ทั้งหมดที่ต้องการจะอ่านเอาไว้   แล้วบันทึก
ลงในสมุดบันทึกประจำวันหรือในโฮมเพจส่วนตัวก็ได้ พออ่านเสร็จ ก็ขีดฆ่าเล่มที่เราอ่านแล้ว
บันทึกเหตุการณ์
4. เก็บบันทึกเหตุการณ์ เหมือนกับลิสต์รายการอ่านหนังสือ แต่เพิ่มรายละเอียด วันที่เริ่มอ่าน
และวันที่อ่านจบ ถ้าจะให้ดีควรบันทึกสิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ไว้ด้วย
สถานที่เงียบๆ
5. หาสถานที่เงียบๆ อาจจะเป็นภายในบ้าน ที่เรารู้สึกสบายไปกับหนังสือดีๆ ได้ โดยปราศจาก
การรบกวนหรือถูกขัดจังหวะ ไม่ควรมีโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ จะทำให้เราไขว้เขวได้
และต้องไม่มีเพลง หรือสมาชิกใน ครอบครัวเพื่อนที่ส่งเสียงดัง แต่ถ้าไม่มีสถานที่แบบนี้ ลองหา
ร้านกาแฟ ห้องสมุด หรือสวนสาธารณะที่เงียบๆ ลมเย็นๆ ก็ได้
ลดการดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต
6. ลดการดูทีวี หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ถ้าคุณต้องการอ่านหนังสือให้มากกว่านี้ ลองลดการดูทีวี
หรือเล่นอินเตอร์เน็ตลงแม้จะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหลายๆ คนก็ตาม
วันแห่งห้องสมุด
7. มีวันแห่งห้องสมุด เดินทางให้เป็นนิสัย นอกจากจะสามารถหยิบหนังสือของเราติดมือไปอ่าน
ได้แบบเงียบๆสบายๆ แล้ว ยังมีหนังสือน่าอ่านตั้งมากมาย พร้อมกับบรรยากาศเงียบๆแล้ว ยังได้
อ่านหนังสือฟรีอีกด้วย
อ่านหนังสือสนุก
8. อ่านหนังสือที่สนุกๆ จะกระตุ้นความสนใจให้กับเราได้ หาหนังสือที่คุณสนใจ แม้ว่าจะไม่ใช่
วรรณกรรมระดับมาสเตอร์พีซ แต่ทำให้เราอยากอ่าน แค่นั้นก็พอแล้ว หลังจากนั้น เราก็สามารถ
เปลี่ยนไปอ่านอะไรที่มันยากขึ้นได้ แต่ตอนนี้หาสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนุก และสนใจดีกว่า
การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เพลิดเพลิน
9. ทำให้การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน ทำให้การอ่านเป็น ช่วงเวลาที่น่า
โปรดปรานอย่างเช่นจิบชาดีๆ หรือ จิบกาแฟในช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ มีเก้าอี้ที่แสนสบาย
หรือจะเลือกช่วงเวลาระหว่างที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือพระอาทิตย์ตก จะช่วยสร้างบรรยากาศให้
เพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดี
บันทึกใน Blog
10. บันทึกเรื่องราวการอ่านหนังสือลงไปใน Blog เป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ดีที่สุด ในการสร้าง
นิสัยการอ่าน คือการบันทึกเรื่องราวลงใน Blog Hi5, Facebook, Multiply หรืออื่นๆ นอกจากสามารถ
อธิบายความคิดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ได้แล้วคนอื่นๆ ยังสามารถแสดความคิดความเห็น ให้
คำแนะนำเราเกี่ยวกับหนังสือที่เราอ่าน ได้อีกด้วย
วางเป้าหมาย
11. วางเป้าหมายสูงสุด บอกตัวเองว่า เราต้องการอ่านหนังสือจำนวนกี่ เล่มในปีนี้!! และทำเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ให้สำเร็จแต่ต้องแน่ใจว่าเราจะยังคงสนุกกับการอ่านอยู่
ชั่วโมงแห่งการอ่าน
12. มีชั่วโมงการอ่าน หรือวันแห่งการอ่าน เราสามารถวางแผนใช้เวลาร่วมกัน ในครอบครัวให้พวก
เขาเหล่านั้นร่วมกับเราอ่านหนังสือได้ ก็จะได้ความสนุกไปอีกแบบ
ขอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.lifehack.org

http://www.krabork.com






       การฝึกนิสัยตนเอง ให้รักการอ่านไม่ใช่เรื่องยาก  เพราะหนังสือมีเรื่องที่น่าสนใจมากมายและยังเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายตามความชอบและความสนใจของแต่ละคน  โลกของหนังสือเป็นโลกแห่งอิสระเสรีทางความคิด เราสามารถอ่านความคิดของผู้อื่นแล้วนำมาพัฒนาความคิดของตนเอง  การปลูกฝังตนเองให้รักการอ่าน ทำได้ด้วยหลักง่ายๆ 3 ประการ ดังนี้

   1. อ่านตามความสนใจ
     การเริ่มอ่านจากเรื่องที่ตัวเองชอบและสนใจจำทำให้อ่านหนังสือได้โดยไม่เบื่อ  เราอาจเริ่มต้นอ่านจากเรื่องสั้นๆ ไม่ยาวมาก มีภาพประกอบ โดยอาจเริ่มจากการอ่านนิทาน  เรื่องสั้น หรือ เรื่องที่จบภายในตอนเดียว ถ้าเรามีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านก็จะอ่านได้ต่อเนื่อง
   2. อ่านให้สม่ำเสมอ
       การอ่านอย่างสม่ำเสมอเป็นบันไดขั้นแรกของผู้ที่รักการอ่าน  เพราะจะต้องอ่านจนเป็นนิสัย ทันทีที่ว่างจากหน้าที่ที่ทำในชีวิตประจำวัน  เราก็สามารถหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านได้ ถ้าเราสามารถอ่านได้สม่ำเสมอ เราก็จะเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านได้
   3. อ่านให้เจอขุมทรัพย์
       ขุมทรัพย์ ที่ว่านี้ไม่ใช่ทรัพย์สิน  เงินทอง แต่เป็น “ขุมทรัพย์แห่งปัญญา”  ซึ่งมีค่ามหาศาล เป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ที่ใครก็มาแย่งชิงไปไม่ได้  ผู้อ่านจะได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน ข้อคิด คุณธรรมที่แฝงอยู่จากเรื่องที่อ่าน รวมถึงได้พัฒนาอารมณ์ของตนเอง  ก่อให้เกิดการพัฒนาผู้อ่านในทางที่ดี ฉะนั้นหนังสือที่ดีก็เปรียบเสมือนว่าเราได้พบขุมทรัพย์นั่นเอง  
        ดังนั้น เราจึงควรหันมาปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วันนี้  เพื่อประโยชน์มากมายในวันข้างหน้า“นิสัยรักการอ่าน ไม่ใช่พันธุกรรม  ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เกิดจากการปลูกฝัง” โลกของการอ่านกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งในรูปลักษณ์ของสิ่งที่อ่าน รสนิยมของคนอ่าน  เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงขนาดของสิ่งพิมพ์  แต่ไม่ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การอ่านก็ยังมีความสำคัญอย่างไม่มีวันลดเลือนหายไปอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

การสานเส้นพลาสติก


ขั้นตอนการสานเส้นพลาสติก
วิธีการดำเนินการ

อุปกรณ์
 1. เส้นพลาสติก 5 ขีด
 2. กรรไกร
 3. หูถือกระเป๋า

วิธีการทำ

 
1. ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ 20-30 ซม. จำนวนความกว้าง 11 เส้น จำนวนความยาว 23 เส้น
2. นำเส้นพลาสติกที่ตัดไว้โดยนำ 11 เส้นมาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)
3. นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานที่ละเส้น
4. เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่น ไม่ให้มีช่องว่าง
5. เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น
6. ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ
6.1 ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย
6.2 สานสลับเส้น
6.3 เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม
6.4 แล้วพับลงมาขัดกับลาย
7. เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของกระเป๋า เพื่อทำให้เป็นทรง
8. ใส่หูถือกระเป๋า ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย